วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
Marketing 3.0
จุดเริ่มของแนวคิดนี้ก็เสมือนแนวคิดทางการตลาดทั่วไปที่พูดถึงพัฒนาการ ในแนวคิดทางธุรกิจที่ออกมาเป็นช่วงต่างๆ
โดยแนวคิดทางธุรกิจเริ่มจากที่การทำธุรกิจส่วนใหญ่จะเริ่มจากการเน้นการพัฒนาระบบผลิตเพื่อให้ต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด เพราะต้นทุนที่ต่ำกว่าย่อมนำมาซึ่งกำไรที่มากกว่า แต่บทเรียนทางธุรกิจบอกว่าแม้ต้นทุนจะต่ำกว่าก็ไม่ได้รับประกันถึงรายได้ที่สูงขึ้นเพราะลูกค้าให้ความสนใจกับคุณภาพของสินค้าด้วย ถ้าสินค้าคุณภาพไม่ดีลูกค้าก็จะไม่ซื้อ องค์กรควรได้เน้นย้ำถึงการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าเพราะเชื่อว่าถ้าสินค้ามี คุณภาพดีก็จะสามารถทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นได้
ธุรกิจได้บทเรียนต่อมาว่าไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะ บ่อยครั้งสินค้าที่คุณภาพไม่ดีกลับขายได้มากกว่าสินค้าที่คุณภาพดี ธุรกิจจึงต้องหาวิธีที่พยายามจูงใจให้ลูกค้าซื้อและเป็นการเน้นเทคนิคการแทน แต่ผลลัพธ์ที่ได้ คือ การขายไม่ได้รับประกันถึงความสำเร็จในอนาคต จึงเกิดแนวคิดว่าองค์กรควรเน้นแนวคิดของที่ไม่ได้ให้ความสำคัญเพียงแค่เทคนิคการขายเท่านั้นแต่ต้องครบเครื่องส่วนประสมทางการตลาดทั้งสินค้า ราคา ช่องทางการจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาดที่สามารถตอบสนองความต้องการของ ลูกค้าได้อย่างแท้จริง และเป็นแนวคิดการตลาดที่เน้นความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก
ยุคการตลาดถูกแบ่งออกเป็น 3 ยุค ได้แก่
ยุค 1.0 เป็นยุคที่การตลาดยึดสินค้าเป็นสำคัญ (The Product Centric Era)
– เน้นการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำที่สุด และขายในราคาถูกเพื่อให้ลูกค้าจำนวนมากซื้อได้
ยุค 2.0 เป็นยุคที่การตลาดเน้นความสำคัญของผู้บริโภค (The Customer-Oriented Era)
– เน้นในการตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคแต่ละส่วนตลาด ทำให้เกิดสินค้าหรือบริการให้เลือกมากมาย อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะเน้นผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง แต่มองว่าพวกเขาเป็นเพียงผู้รับสารการตลาดที่ถูกสื่อออกไปมากมายในแต่ละวัน โดยที่ไม่สามารถแสดงความคิดโต้ตอบได้ ลักษณะของสื่อการตลาดอยู่ในรูปแบบของการสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication) ระหว่างกิจการตรงไปยังผู้บริโภค
ยุค 3.0 เป็นยุคที่การตลาดเน้นการขับเคลื่อนด้วยค่านิยม (The Values-Driven Era)
– ไม่ได้มองผู้บริโภคแบบที่เป็นเป้านิ่งให้ถาโถมสื่อการตลาด แต่มองในฐานะมนุษย์ที่มีความคิด จิตใจ และจิตวิญญาณ ทั้งนี้ตัวผู้บริโภคไม่เพียงเป็นฝ่ายตั้งรับในการรับสื่อสารทางการตลาด แต่สามารถแสดงออกถึงความคิดเห็น (Two-Way Communication) ของตนตลอดจนมีส่วนร่วมไม้ร่วมมือด้วยจิตอาสาในการพัฒนาสินค้าหรือบริการให้ ตอบสนองความต้องการของตนให้ดียิ่งขึ้น
จะเห็นได้ว่า จุดหลักสำคัญของการตลาดยุค 2.0 กับ 3.0 ก็คือ ในยุค 3.0 ผู้บริโภคไม่ได้แต่เป็นเพียงฝ่ายตั้งรับแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่สามารถสื่อสารโต้ตอบกลับไปยังกิจการที่ผลิตสินค้าหรือบริการ ตลอดรวมถึงสื่อสารระหว่างผู้บริโภคด้วยกันเองตรงส่วนนี้แหละครับที่ Social Media เป็นเครื่องมือสำคัญของผู้บริโภคที่จะสะท้อนถึงความต้องการที่แท้จริงของพวก เขา ตลอดจนไปถึงความคิด จิตใจ รวมไปถึงลึกเข้าไปถึงจิตวิญญาณที่ต้องการจะทำให้โลกของเราน่าอยู่ยิ่งขึ้น
เมื่อผู้บริโภคแสดงความคิดเห็นของไปสู่สาธารณะ สามารถโน้มน้าวความคิดและความรู้สึกของผู้บริโภครายอื่นๆให้เกิดความคล้อยตาม ทั้งนี้ความคิดเห็นเหล่านี้กลับได้รับความเชื่อถือมากกว่าสารโฆษณาผ่านสื่อ แบบเดิม อย่างพวกโทรทัศน์ วิทยุ หรือพวกหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารเสียอีก
หรือจะสรุปง่ายๆว่ายุคนี้เราไม่แคร์สื่อ ก็ไม่น่าจะผิดนัก การที่เพื่อนบอกถึงประสบการณ์เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการนั้นก็ไม่จำเป็นต้อง มาเจอหน้ากันก็ได้แล้วครับ และวิธีการเช่นนั้นก็คงจะบอกกันได้ไม่กี่คน ปัจจุบันนี้เขาก็บอกผ่านทาง Facebook, YouTube, Blog หรือ Twitter ซึ่งสื่อเหล่านี้ทำให้เสียงบอกของผู้บริโภคนั้นแพร่กว้างและทรงพลังมากกว่า ยุคก่อนมหาศาล ซึ่งแน่ละ นั้นทำให้ตัวกิจการจะต้องใส่ใจ หากคำบอกเล่าดังกล่าวเป็นไปในเชิงลบ เพราะหากละเลย อาจจะก่อให้เกิดผลเสียจากการบอกต่อๆ กันไปที่เรียกว่า Viral ส่งผลกระทบต่อกิจการของตนอย่างหนักในที่สุด
การตลาดยุคใหม่ที่จะสร้างสรรค์ความเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน จะต้องอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นปัจจัยนำไปสู่การบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้แนวทางการพัฒนาธุรกิจให้ยั่งยืน จะต้องมีการพัฒนาเป็นองค์ความรู้ เพื่อสร้างสรรค์บุคลากร ที่จะพัฒนาและส่งแนวคิดไปยังรุ่นต่อไป
ที่มา : mmthailand.com
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น